วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Trade Policy Instrument : Tariff

Trade Policy Instrument : Tariff

อุปกรณ์ของนโยบายทางการค้า : ภาษีศุลกากร

ภาษีที่เก็บจากสินค้าเข้า
หรือสินค้าออก ภาษีศุลกากรนี้ปกติจะนำมาใช้กับสินค้าเข้าเพื่อปกป้องธุรกิจภาคเกษตรกรรมและ แรงงานภายในประเทศจากการแข่งขันจากต่างประเทศในตลาดภายใน ในบางประเทศภาษีศุลกากรนี้จะใช้โดยมีวัตถุประสงค์ประสงค์หลัก คือ (1)เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศหรือ(2)เพื่อตอบโต้ต่อนโยบายทางการค้า ที่วางข้อจำกัดการนำเข้าสินค้าของชาติอื่น ภาษีศุลกากรมีลักษณะอคติหากมีอัตราการจัดเก็บที่แตกต่างกันในผลผลิตที่คล้าย คลึงกันจากประเทศต่างๆ ภาษีศุลกากรที่จัดเก็บจากสินค้านำเข้านั้น ฝ่ายที่จ่ายก็คือภาคธุรกิจภายในประเทศนั้นเอง แล้วฝ่ายนี้ก็จะผลักภาระค่าใช้จ่ายไปให้แก่ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง ในทศวรรษปี 1980 อัตราภาษีศุลกากรส่วนใหญ่จะอิงอากรตามอัตรา(คือ เก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของสิ่งที่นำเข้า) แต่ก็มีภาษีอากรบางอย่างใช้วิธีจัดเก็บโดยอิงน้ำหนัก ปริมาณ และอากรคงที่ ภาษีอากรในแบบอากรตามอัตรานี้จะไม่เหมือนอากรเฉพาะประเภทคงที่ที่จัดเก็บโดย ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคา แต่จะผกผันไปตามความหลากหลายของราคาของสินค้านำเข้านั้นๆ ซึ่งก็จะจัดเก็บในอัตราสูงมากในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ

ความสำคัญ
ภาษีศุลกากรนี้โดยหลักสากลแล้วจะจัดเก็บจากสินค้านำเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีศุลกากรที่จัดเก็บจากสินค้าส่งออกนั้นจะไม่ค่อยนำมาใช้กันเพราะจะ ส่งผลกระทบต่อการขายสินค้าชิ้นนั้นในต่างประเทศ(กล่าวคือ จะทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น)รัฐต่างๆจะอ้างความชอบธรรมว่าที่ต้องมีระบบจัด เก็บภาษีศุลกากรนั้นก็(1)เพื่อใช้เป็นวิธีการแก้ไขการเสียเปรียบดุลการชำระ เงิน (2) เพื่อใช้เป็นวิธีปกป้องอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ภายในประเทศ (3) เพื่อใช้เป็นวิธีทำให้เกิดความเท่าเทียมกันทางด้านต้นทุน (4) เพื่อใช้เป็นวิธีดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (5) ใช้เป็นวิธีเพื่อปรับปรุงอัตราการค้า (6) ใช้เป็นวิธีเพื่อเพิ่มพูนรายได้ (7) ใช้เป็นวิธีเพื่อลดภาวะการตกงานของคนในประเทศ (8) ใช้เป็นวิธีเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการป้องกันประเทศ (9) ใช้เป็นวิธีเพื่อตอบโต้นโยบายทางการค้าที่มีอคติต่อรัฐอื่น หรือ (10) ใช้เป็นวิธีเพื่อเป็นเครื่องมือต่อรองให้ได้สิ่งผ่อนปรนทางการค้า ภาษีศุลกากรนี้มีลักษณะเหมือนกับเครื่องมือสำหรับวางข้อจำกัดทางการค้าอื่นๆ คือ จะไปทำให้มาตรฐานการครองชีพในทุกประเทศลดลง เพราะมันจะไปจำกัดกระแสการค้า และจะไปทำให้การแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศและการชำนาญเฉพาะทางของชาติต่างๆ ลดลง กำแพงภาษีในอัตราสูงมากที่ได้จัดตั้งขึ้นมาในช่วงทศวรรษปี 1920 ถึงช่วงต้นทศวรรษปี 1930 ได้รับการแก้ไขให้ลดลงมาเรื่อยๆโดยใช้เวลาในการเจรจาต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ปี มีการบรรลุข้อตกลงทางการค้าหลายฉบับในแบบทวิภาคีภายใต้โครงการข้อตกลงทางการ ค้าแบบถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันในปี ค.ศ. 1934 และการเจรจากันในระดับพหุภาคีที่ดำเนินการภายในองค์การข้อตกลงทั่วไปว่าด้วย ภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 เป็นต้นมา จากข้อตกลงเหล่านี้ก็ได้ช่วยลดกำแพงภาษีศุลกากรลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดได้ นอกจากนั้นแล้วภาษีศุลกากรนี้ก็ยังได้รับการแก้ไขโดยผ่านทางระบบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าในระดับภูมิภาคอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ที่ได้ดำเนินการผ่านทางข้อตกลงตลาดร่วมที่จัดตั้งขึ้นมาโดยประชาคมเศรษฐกิจ ยุโรป(อีอีซี) และสมาคมการค้าเสรียุโรป(เอฟตา) อย่างไรก็ดี จากประวัติศาสตร์ของการค้าระหว่างประเทศได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อถึงช่วงที่ภาษีศุลกากรมีการจัดเก็บในระดับต่ำแล้ว ก็จะเกิดการพลิกกลับมาของช่วงเกิดลัทธิปกป้อง ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของชาติต่างๆตกต่ำมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม