วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Definition of International Economics

Definition of International Economics
นิยามความหมาย เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

Definition 1
INTERNATIONAL ECONOMICS: A branch of economics that studies economic interactions among different countries, including foreign trade (exports and imports), foreign exchange (trading currency), balance of payments, and balance of trade.


เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ : สาขาหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ที่ซึกษาปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ รวมทั้ง การค้าระหว่างประเทศ(การส่งออกและนำเข้า),การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ(การค้าเงินตรา) ตุลการชำระเงิน และดุลการค้า


Definition 2
International economics studies the economic and political issues surrounding trade, international finance and related issues.

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ศึกษาในเรื่องประเด็นทางเศรษฐกิจและการเมืองที่อยู่รอบๆการค้า การคลังระหว่างประเทศและประเด็นที่เกี่ยวข้อง


Definition 3
International economics studies the economic interactions of nations and how international issues affect world economic activity. 
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ศึกษาเรื่องปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของชาติทั้งหลายและเรื่องประเด็นระหว่างประเทศว่ามีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกได้อย่างไรบ้าง


Definition 4
The study of economic interactions among countries - including trade, investment, financial transactions, and movement of people - and the policies and institutions that influence them.

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันรวมถึง การค้า การลงทุน ธุรกรรมทางการเงิน และการเคลื่อนไหวของประชาชน ตลอดจนถึงนโยบายและสถาบันที่มีอิทธิพลต่อสิ่งเหล่านี้

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Development : Capital

การพัฒนา : ทุน

ปัจจัยการผลิต(อีก 2 ปัจจัย คือ ที่ดินและแรงงาน) ซึ่งแสดงออกมาในรูปของเงินและสินค้าผู้ผลิต การใช้ทุนเพื่อการขยายศักยภาพทางการผลิตจะกระทำได้ต้องอาศัย (1) กำไร (2)จำนวนของกำไรที่มีการออมไว้และ (3) การนำเงินที่ออมไว้เข้าสู่การลงทุนในรูปของสินค้าทุน ในรัฐทุนนิยมที่เจริญแล้วนั้นจะมีการส่งเสริมให้มีการรวมทุนด้วยวิธี(1) สร้างตลาดที่มีความมั่นคง (2) ให้มีระบบการธนาคารทำงานอย่างเต็มที่ และ(3) ให้ภาครัฐบาลทำการควบคุมนโยบายการคลังและการเงิน ส่วนในรัฐที่ปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์นั้น รัฐจะเข้าวางแผนชี้นำให้มีการนำรายได้ของชาติจำนวนมากๆมาใช้พัฒนาสินค้าทุน แหล่งเงินทุนของรัฐด้อยพัฒนาทั้งหลาย ได้แก่ (1)เงินออมภายในประเทศ (2)เงินลงทุนของภาคเอกชนจากต่างประเทศ (3) เงินจากการค้า และ (4) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทุนจะช่วยจัดหาปัจจัยที่มีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ อาคาร เครื่องจักรกล อุปกรณ์ เครื่องมือ พลังงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการขนส่ง ฯลฯ


ความสำคัญ การสะสมทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในหมู่รัฐที่เจริญแล้ว และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศด้อยพัฒนา อย่างไรก็ดี การลงทุนในรูปของเงินทุนแท้ๆจะบังเกิดขึ้นมาได้นั้นต้องมีการพิจารณากันทั้งในด้านการตลาดและอุปสงค์ของสินค้า ในทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น ได้กำหนดให้ภาครัฐบาลทำการส่งเสริมให้มีการถ่ายโอนเงินออมเข้าสู่การลงทุน เมื่อชาติประสบปัญหาการขาดแคลนเงินทุน หรือเมื่อเกิดภัยคุกคามจากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ ในหมู่ประเทศด้อยพัฒนานั้น การสะสมทุนโดยผ่านทางการค้าต่างประเทศ(อันเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ)จะได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากอัตราการค้ามีราคาลดลงมากๆ จากลัทธิปกป้อง(แนวความคิดในการส่งเสริมการผลิตภายในประเทศด้วยวิธีการปกป้อง หรือการกีดกันสินค้าเข้าด้วยการใช้มาตรการต่างๆ) ในประเทศที่เจริญแล้ว และจากการพัฒนาสิ่งสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้แทนสินค้าขั้นปฐม การลงทุนของภาคเอกชนต่างประเทศในรัฐด้อยพัฒนานั้น มิได้เป็นไปดังความคาดหมาย เพราะว่าผู้ลงทุนจากรัฐที่เจริญแล้วนั้นเกรงกลัวว่าจะมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศด้อยพัฒนา และมีแรงจูงใจอยากจะไปลงทุนในประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าเพราะโอกาสที่การลงทุนมีความปลอดภัยจะมีมากกว่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว โครงการให้ความช่วยเหลือในรูปให้เปล่าก็จะมุ่งให้ความช่วยเหลือทางด้าน เทคนิคและในด้านการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน ที่เป็นเงินทุนแท้ๆมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนสถาบันระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ กลุ่มธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาแอฟริกา ธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารพัฒนาระหว่างรัฐอเมริกา ก็ได้ให้เงินทุนโดยปล่อยเงินกู้ประเภทที่มีเงื่อนไขเข้มงวดเสียส่วนใหญ่

Development : Economic Growth

การพัฒนา : การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

การเพิ่มทวีของผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิของชาติ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะวัดได้โดยใช้ฐานจากค่าของเงินตราในสมัย นั้นๆเป็นเกณฑ์วัด หรืออาจจะปรับแต่งตัวเลขโดยวิธีพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร และปัจจัยทางภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะเงินฝืดก็ได้ นักเศรษฐศาสตร์ถือว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5 เปอร์เซ็นต์นับได้ว่าเป็นอัตราที่น่าพอใจสำหรับชาติส่วนใหญ่ มีบางชาติที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเกินกว่า 5 เปอร์เซ็นต์นี้ แต่ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ถึงกัน ถึงแม้ว่าประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศจะสามารถเพิ่มพูนรายได้มวลรวมประชาชาติในอัตราสูง แต่เมื่อนำตัวเลขมาปรับกับการเจริญเติบโตทางด้านประชากรแล้ว อัตราเฉลี่ยรายหัวสุทธิก็จะไม่เกิน 1-2 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีบางชาติเหมือนกันมีรายได้เฉลี่ยรายหัวต่ำมากแม้ว่าจะมีรายได้ประชาชาติสูงก็ตาม

ความสำคัญ การแข่งขันระหว่างรัฐต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่รัฐที่มีระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง และระบบสังคมที่แตกต่างกัน เป็นไปด้วยความรุนแรงเพราะแต่ละรัฐก็ต่างพยายามจะให้ฝ่ายตนบรรลุถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูงกว่ารัฐคู่แข่งของตนทั้งนั้น ตามหลักการมีอยู่ว่ารัฐด้อยพัฒนาที่มีฐานะยากจนจะสามารถบรรลุถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงกว่ารัฐที่เจริญแล้วได้ด้วยสาเหตุ 2 ประการ คือ (1) รัฐด้อยพัฒนามีส่วนเกินทางด้านแรงงานและด้านทรัพยากร และ (2) รัฐด้อยพัฒนามีฐานทางเศรษฐกิจขนาดเล็กกว่าของประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งถึงแม้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ก็จะสะท้อนออกมาให้เห็นว่ามีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นมาก ทั้งสองฝ่ายที่ทำการต่อสู้แข่งขันกันทางด้านอุดมการณ์ทั้งฝ่ายทุนนิยมและฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่างก็อ้างว่าฝ่ายตนมีระบบที่จะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ล้ำเลิศกว่า แต่ด้วยเหตุที่แต่ละฝ่ายมีการวัดค่านิยมเกี่ยวกับสินค้าและการบริการที่แตกต่างกัน ก็จึงทำให้ยากที่จะทำการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตนี้ในระหว่าง 2 ประเทศอย่างเช่นในกรณีของสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต(ในอดีต)ได้ ข้างฝ่ายชาติที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดนั้นก็ได้หันเข้าไปยอมรับระบบที่จะเอื้ออำนวยให้ฝ่ายตนสามารถบรรลุถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วที่สุด การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในสมการอำนาจ เพราะเป็นฐานสนับสนุนเบื้องต้นให้สามารถดำเนินโครงการต่างๆทั้งในต่างประเทศ และในประเทศได้

Development : Infrastructure

การพัฒนา : โครงสร้างพื้นฐาน

พื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่จะสนับสนุนแรงผลักดันทางสังคมเพื่อให้บรรลุถึงความทันสมัยได้ การพัฒนาทางโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสถาบันเพื่อให้การสนับสนุนความพยายามของชาติได้พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ถนนหนทาง เขื่อน โรงงานพลังงาน ระบบคมนาคม ระบบชลประทาน และระบบขนส่ง เมื่อได้มีการสร้างฐานโครงสร้างพื้นฐานนี้แล้ว เศรษฐกิจของชาติหากมีทุนมาสนับสนุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแล้วก็จะเคลื่อนไหวต่อไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับพอพึ่งพาตนเองได้

ความสำคัญ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นเงื่อนไขสำคัญก่อนที่จะมีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม และได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญในระดับต้นๆในแผนการสร้างความทันสมัยของรัฐด้อยพัฒนาทั้งหลาย โครงการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่ต่างประเทศของรัฐตะวันตกทั้งหลายซึ่งทั้งนี้ก็รวมทั้งของสหรัฐอเมริกาด้วยนั้น ต่างก็มีรากฐานจากสมมติฐานที่ว่า เมื่อได้มีการสร้างฐานของโครงสร้างพื้นฐานและมีการพัฒนาทักษะทางเทคนิคต่างๆ ในรัฐด้อยพัฒนาแล้ว ก็จะส่งผลเกิดเป็นแรงดึงดูดให้มีเงินลงทุนภาคเอกชนจากต่างประเทศไหลเข้ามาสนับสนุนกระบวนการสร้างความทันสมัยนี้ได้ ในหลายรัฐแรงงานส่วนเกินในภาคเกษตรกรรมได้ละทิ้งผืนแผ่นดินที่ทำมาหากินของตนเข้าไปรวมตัวอยู่ในเมืองเพื่อใช้แรงงานในโครงการก่อสร้างต่างๆที่จะต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมากเนื่องจากยังขาดแคลนเครื่องจักรกลที่ทันสมัย สังคมในรัฐที่มีความเจริญก้าวหน้าในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ขาดแคลนเงินทุนที่จะนำไปใช้กับฐานนี้ให้เกิดมีประสิทธิผลขึ้นมาได้นั้น ก็จะทำให้มวลชนเกิดความเก็บกดก่อความวุ่นวายทางสังคมและก่อความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองได้

Development : Revolution of Rising Expectations

การพัฒนา : การปฏิวัติความคาดหวังที่สูงขึ้น

การเปลี่ยนแปลงเจตคติ(ซึ่งมีมากในหมู่ประชากรหลายล้านคนในชาติที่มีฐานะยากจนทั่วโลก) จากการทอดอาลัยตายอยากปล่อยให้เป็นไปตามบุญตามกรรมและยอมรับว่าความยากจนเป็นเวรกรรมติดตัวมาแต่อดีตชาตินั้น มาเป็นการมองโลกในแง่ที่ดีว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตต่างๆสามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นมาได้ การปฏิวัติความคาดหวังที่สูงขึ้นนี้เกิดขึ้นมาก็เพราะมีการปรับปรุงทางด้านการคมนาคม ทำให้ประชาชนในรัฐด้อยพัฒนาได้รับรู้สภาวะความเป็นอยู่ที่ดีกว่าในชาติที่ พัฒนาแล้ว และให้การยอมรับว่าสังคมด้อยพัฒนาสามารถปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นมาได้โดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม

ความสำคัญ การปฏิวัติการคาดหวังที่สูงขึ้นนี้ได้ทำให้เกิด "ช่องว่างของความเก็บกดที่มีอันตรายเพิ่มขึ้นในรูปความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความสำเร็จ เมื่อสัญญาณของการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ปรากฏให้เห็นตามประเทศต่างๆส่วนใหญ่แล้ว ก็จะนำพาไปสู่การก่อตัวของความคาดหวังที่จะให้มีการปรับปรุงให้ดีมากขึ้นไป กว่าเดิม แต่เนื่องจากว่าในประเทศด้อยพัฒนามีประชากรล้นประเทศจึงทำให้ไม่สามารถก้าวไปสู่ความก้าวหน้าเหล่านี้ ซ้ำยังทำให้มาตรฐานการครองชีพลดลงมาด้วย เมื่อช่องว่างระหว่างสังคมคนรวยกับสังคมคนจนขยายตัวออกไปทั่วโลก ความรู้สึกทางชาตินิยม ความต้องการปกครองตนเอง และการใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ได้กลายเป็นเอกลักษณ์พิเศษสำหรับหมู่รัฐที่มีฐานะยากจนทั้งหลาย ข้างฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ใช้วิธี ตีสองหน้าคือ ด้านหนึ่งก็ให้ความช่วยเหลือแก่รัฐที่มีฐานะยากจนเหล่านี้ได้เกิดการพัฒนา แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้ฉกฉวยนำความเก็บกดที่เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการสนับสนุนให้มีการโค่นล้มรัฐบาลเดิมไปเสียเลย นโยบายของฝ่ายตะวันตกอย่างหนึ่ง ก็คือ ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้า แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารแก่รัฐบาลในรัฐที่มีฐานะยากคนเหล่านี้เพื่อให้ทำการปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรงที่พยายามจะเปลี่ยน แปลงสังคมโดยใช้วิธีการรุนแรง

Development : Technology

การพัฒนา : เทคโนโลยี

การใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และทักษะมนุษย์ไปแก้ปัญหาในด้านศิลปะของภาคปฏิบัติหรือภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีจะสูงหรือต่ำนั้นส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับการวิจัยและการพัฒนา(อาร์แอนด์ดี) กล่าวคือ เป็นการแสวงหาความรู้ขั้นพื้นฐานแล้วนำความรู้นั้นไปใช้กับนวัตกรรม กระบวนการสร้างความทันสมัยในโลกปัจจุบันเป็นเรื่องของการถ่ายโอนทักษะต่างๆ จากสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคนิคแล้วไปสู่สังคมที่ยังด้อยพัฒนา


ความสำคัญ เทคโนโลยีที่ได้รับการปรับปรุงแล้วจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปฏิวัติทางด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ทางทหาร การผลิตทางด้านอุตสาหกรรม การคมนาคม การขนส่ง และการแพทย์ ในทางกลับกันนั้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดผลต่างๆขึ้นมา อาทิ อันตรายจากสงครามนิวเคลียร์ การปฏิวัติการคาดหวังที่สูงขึ้น การขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ -การโฆษณาชวนเชื่อ การเศรษฐกิจที่กระจายไปทั่วโลก และภัยคุกคามจากการมีประชากรล้นโลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีผลกระทบ คือ จะทำให้สังคมไม่สามารถปรับตัวหรือจัดการเกี่ยวกับผลของความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในสังคมได้ทัน ระดับสูงหรือต่ำทางเทคโนโลยีของชาติใดชาติหนึ่งเมื่อเทียบกับชาติอื่น(โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาติที่มีศักยภาพเป็นศัตรู) เป็นเกณฑ์สำคัญในการวัดค่าอำนาจชาติ

บทความที่ได้รับความนิยม