วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Trade Policy Organization : Organization of Petroleum Exporting Countries(OPEC)

Trade Policy Organization : Organization of Petroleum Exporting Countries(OPEC)


Organization of Petroleum Exporting Countries(OPEC)
:องค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม(โอเปก)

องค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม(โอเปก) (Organization of Petroleum Exporting Countries(OPEC)  คือ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน 13 ประเทศที่ได้จัดตั้งระบบการรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจในระดับรัฐบาล เพื่อควบคุมการผลิตและการตกลงราคาน้ำมันในตลาดโลก สมาชิกของโอเปกประกอบด้วย 7 รัฐอาหรับในตะวันออกกลาง(แอลจีเรีย, อิรัก, คูเวต, ลิเบีย, กาตา, ซาอุดีอาระเบีย, และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) 2 รัฐในทวีปแอฟริกา(กาบอง และ ไนจีเรีย) 2 รัฐในเอเชีย(อินโดนีเซีย และอิหร่าน) และ 2 รัฐในละตินอเมริกา(เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา) โอเปกก่อตั้งขึ้นมาโดยสนธิสัญญาเมื่อปี ค.ศ. 1961 แต่ข้อตกลงจัดตั้งระบบรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจของโอเปกเพิ่งจะมีผลบังคับใช้ในช่วงหลังสงครามตะวันออกกลางเมื่อปี ค.ศ. 1973 องค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตเลียมอาหรับ(โอเอพีอีซี) ซึ่งเป็นองค์การทางการเมืองมากกว่าองค์การโอเปก ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาที่กรุงเบรุตประเทศเลบานอนเมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยประเทศซาอุดีอาระเบีย คูเวต และลิเบีย ประเทศอาหรับอื่นๆที่เข้ามาร่วมองค์การผู้ส่งออกปิโตรเลียมอาหรับ ได้แก่ อิรัก อียิปต์ ซีเรีย กาตา ดูไบ บาห์เรน สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอลจีเรีย องค์การโอเอพีซีอีได้วางแผนทำการคว่ำบาตรน้ำมันในระหว่างเกิดสงครามอาหรับอิสราเอลเมื่อปี ค.ศ. 1973 หลังสงครามยุติความต้องการน้ำมันในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกและประเทศในกลุ่มโลกที่สามมีเพิ่มขึ้นมาก จึงได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงมาก เป็นการผ่องถ่ายทรัพยากรเงินจากประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกและประเทศในกลุ่มโลกที่สามไปยังประเทศสมาชิกของโอเปก

ความสำคัญ ในระหว่างปี ค.ศ. 1973 ถึง 1975 กลไกการกำหนดราคาของโอเปกได้ปั่นราคาน้ำมันโลกพุ่งขึ้นสูงถึง 4 เท่า จากการที่น้ำมันพุ่งขึ้นมามีผลดังนี้ คือ (1) ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศผู้นำเข้าน้ำมันหลายต่อหลายรอบ (2) ทำให้ผลิตภาพตกต่ำ (3) ทำให้โลกเผชิญกับภัยคุกคามจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ (4) ทำให้คนตกงานเพิ่มมากขึ้น (5) ทำให้มีความพยายามที่จะพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอื่นที่จะมาใช้ทดแทนน้ำมัน การขึ้นราคาน้ำมันส่งผลกระทบในทางลบต่อกระแสการเงิน เป็นการสร้างปัญหาดุลการชำระเงินให้แก่ประเทศต่างๆ รวมทั้งแก่สหรัฐอเมริกาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มโลกที่สามได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นมากนี้ ทำให้หลายประเทศต้องเป็นหนี้เป็นสินรุงรังและจะต้องตัดโครงการสร้างความทันสมัยของตนออกไป สหรัฐอเมริกาและประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆต่างหาหนทางตอบโต้การรวมกลุ่มกำหนดราคาของโอเปกนี้ โดยการสร้างองค์การประเทศผู้นำเข้าน้ำมันขึ้นมาเพื่อพัฒนาแนวทางนโยบายร่วมกัน และโดยใช้วิธีกดดันทางการทูตและทางเศรษฐกิจต่อประเทศกลุ่มโอเปก มาตรการอื่นๆที่ได้นำมาใช้เพื่อต้านทานอำนาจทางเศรษฐกิจของโอเปก คือ (1) สร้างคลังน้ำมันเก็บไว้ใต้ดินในปริมาณมากๆ (2) รัฐบาลส่งเสริมให้มีการพัฒนาแหล่งพลังงานอื่นที่นำมาใช้ทดแทนน้ำมัน (3) ดำเนินโครงการประหยัดน้ำมันที่สำคัญๆ(4) มีนโยบายชักจูงให้มีการผลิตน้ำมันในประเทศให้มากยิ่งขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า ทั้งนี้โดยให้ตั้งราคาน้ำมันที่ผลิตได้ภายในประเทศในราคาพิเศษ โดยการดำเนินมาตรการข้างต้นผนวกกับการที่สมาชิกโอเปกไม่สามารถจำกัดการผลิตและตรึงราคาไว้ได้ ก็จึงทำให้ในทศวรรษปี 1980 มีน้ำมันออกมาจำหน่ายในตลาดโลกมากและน้ำมันก็จึงมีราคาถูกมาก อย่างไรก็ดี หากประเทศกลุ่มโอเปกยุติส่งน้ำมันไปให้ประเทศพัฒนาเสียแล้ว ประเทศพัฒนาเหล่านี้ก็จะประสบกับความหายนะอย่างใหญ่หลวง บางทีอาจจะมีการใช้การทหารเข้าแทรกแซงในตะวันออกกลางไปเลยก็ได้ ด้วยเหตุที่แหล่งสำรองน้ำมันของโลกได้หมดเปลืองไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นก็จะต้องมีการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่มาใช้ทดแทนน้ำมันให้ได้ภายในสองทศวรรษ(20 ปี)นี้ หากไม่ต้องการพึ่งพาโอเปกอยู่อย่างนี้และไม่ต้องการให้เกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม