วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Monetary Policy : Inflation


Monetary Policy : Inflation

นโยบายทางการเงิน : ภาวะเงินเฟ้อ

การเพิ่มขึ้นของระดับราคาทั่วไปของ
สินค้าในเศรษฐกิจของชาติ ภาวะเงินเฟ้ออาจเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินและเครดิต หรืออาจเป็นผลมาจากการไร้สภาวะการแข่งขันในตลาด หรือมาจากการลดลงของอุปทานสินค้า เงื่อนไขของภาวะเงินเฟ้อนี้มักจะเกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลเอง คือ มีการใช้จ่ายเงินขาดดุล หรือดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผิดจังหวะ ไม่ว่าภาวะเงินเฟ้อนี้จะมีสาเหตุมาจากอะไร นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ปัจจัยทางจิตวิทยามวลชนมีส่วนไปทำให้เกิดเป็นแรงกระทบและขยายขอบเขตภาวะเงินเฟ้อออกไปมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคนกลัวว่าราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆก็จะไปกระตุ้นให้ไปซื้อสิ่งของในระบบเงินผ่อน ซึ่งก็จะยิ่งทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก

ความ
สำคัญ ภาวะเงินเฟ้ออาจเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจของชาติได้ กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำมีแนวโน้มว่าจะต้องแบกภาระจากภาวะเงินเฟ้อนี้หนักกว่าใครหมด ซึ่งก็จะส่งผลต่อไปคุกคามต่อเสถียรภาพทางการเมืองได้ด้วย ภาวะเงินเฟ้อจะทำลายด้วยการกัดกินเงินออมเสียหมดจนมีไม่พอที่จะนำไปใช้ลงทุน ทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจถูกขัดขวางไม่ให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ ภาวะเงินเฟ้อนี้ก็ยังมีผลกระทบต่อการค้าต่างประเทศเพราะจะไปทำให้สินค้าส่งออกมีราคาสูงจนไม่สามารถส่งไปขายแข่งในตลาดโลกที่มีการแข่งขันสูงมากได้ แต่ถ้าเงินเฟ้อนี้มีการควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ ก็จะไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยลดหนี้ของภาคเอกชนและหนี้ของภาครัฐบาลได้ ยกตัวอย่างเช่น เงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาถูกควบคุมให้อยู่ในระดับโดยเฉลี่ยปีละ 7 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลาหลายปี ซึ่งเป็นระดับเงินเฟ้อที่ต่ำสุดในโลกก็ว่าได้ แต่พอถึงช่วงปลายทศวรรษปี 1970 ถึงช่วงต้นทศวรรษปี 1980 อัตราภาวะเงินเฟ้อต่อปีในประเทศต่างๆส่วนใหญ่ขึ้นสูงถึง 15-20 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย แต่ในช่วงกลางทศวรรษปี 1980 ภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาก็สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้นโยบายทางการเงิน สำหรับในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น อัตราเงินเฟ้อจะขึ้นสูงถึงปีละ 100 เปอร์เซ็นต์ และก็มีหลายประเทศ เช่น อิสราเอล ชิลี และอาร์เจนตินา มีภาวะเงินเฟ้อขึ้นสูงมากเกินกว่าปีละ 100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งก็ตรงกันข้ามกับประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุด อย่างเช่น ญี่ปุ่น และเยอรมนี ที่สามารถคงความแข็งแกร่งของเงินตราสกุลของตนไว้ได้ และในขณะเดียวกันนั้นอัตราเงินเฟ้อของสองประเทศนี้ก็ยังแถมอยู่ในระดับต่ำเสียอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม