วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Trade Policy Instrument : Barter

Trade Policy Instrument : Barter

เครื่องมือของนโยบายทางการค้า : การแลกเปลี่ยนสินค้า

ข้อตกลงระหว่าง
รัฐบาลเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน ภายใต้ข้อตกลงการแลกเปลี่ยนสินค้ากันนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนสินค้าในปริมาณตามอัตราส่วนที่ได้ตกลงกัน โดยที่ยังมิได้มีธุรกรรมทางการเงินใดๆ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้ากันนี้ชาติต่างๆจะนำมาใช้กันเพื่อขจัดปัญหาการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน

ความ
สำคัญ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้ากันเพื่อส่งเสริมการค้านี้ ได้นำมาปฏิบัติกันมากในช่วงระหว่างทศวรรษปี 1930 และช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในสองช่วงดังกล่าวปฏิบัติการทางการค้าปกติประสบกับปัญหาข้อจำกัดทางด้านการเงินอันเป็นผลมาจาก (1) มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา (2) มีการควบคุมบัญชีเงินฝาก และ(3) มีการแข่งขันลดค่าเงินตรา นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงเป็นต้นมา ประเทศที่มีการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์ได้ใช้ข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้านี้อย่างกว้างขวางเพื่อเปิดการค้ากับประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือต่างประเทศของสหภาพโซเวียตมักจะให้ในรูปของเครดิตทางการค้าที่จ่ายคืนกันในรูปของสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ตามห้วงเวลาเท่านั้นปีเท่านี้ปี โดยประเทศผู้รับความช่วยเหลือตามข้อตกลงการแลกเปลี่ยนสินค้า ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้ามีข้อดี คือ ไม่เพียงแต่จะเป็นการส่งเสริมการค้าท่านั้นแต่ยังช่วยให้ไม่เกิดปัญหาดุลการชำระเงินอีกด้วย แต่ข้อเสียที่สำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ เป็นการส่งเสริมการค้าระดับทวิภาคียิ่งกว่าการค้าระดับพหุภาคี ประเทศที่รัฐเข้าดำเนินการค้าเสียเองนั้นมักนิยมใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าในการค้าของตน ทั้งนี้เพราะรัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดธุรกรรมทางการค้าต่างประเทศไว้ทั้งหมด แต่ข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้ากันนี้ก็มีข้อจำกัดในการใช้กับระบบที่มีการประกอบการโดยภาคเอกชน เพราะในระบบนี้บริษัทเอกชนต่างๆไม่ต้องการนำผลิตภัณฑ์ของตนแลกกับสินค้าต่าง ประเทศ หากแต่ต้องการนำผลิตภัณฑ์ของตนแลกกับเงินตราต่างประเทศมากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม