วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Trade Policy Instrument : Dumping

Trade Policy Instrument : Dumping

อุปกรณ์ของนโยบายทางการค้า : การทุ่มตลาด

การขายสินค้าในตลาดต่าง
ประเทศในราคาต่อหน่วยสุทธิที่ต่ำกว่าราคาที่ขายให้ผู้บริโภคภายในประเทศ การทุ่มตลาดอาจเป็นการขายต่ำกว่าต้นทุนเพื่อลดปริมาณของในสต๊อก หรือเป็นการใช้เพื่อผลักดันให้บริษัทคู่แข่งออกจากตลาดแข่งขันไปเลย การทุ่มตลาดอาจดำเนินการโดยบริษัทเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนและให้การสนับสนุนจากภาครัฐ หรือว่าดำเนินการโดยตรงโดยรัฐวิสาหกิจก็ได้ ประเทศที่ให้รัฐดำเนินกิจการค้าโดยตรงนั้นอาจจะใช้การทุ่มตลาดนี้เป็นอาวุธ เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือทางอุดมการณ์ได้

ความสำคัญ
เทคนิคการทุ่มตลาดเป็นหลักปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่งในตอนนั้นพวกพ่อค้านายวานิชที่รวมกลุ่มผูกขาดทางเศรษฐกิจได้ใช้ในการทุ่มตลาดนี้เพื่อแย่งชิงตลาดกัน การทุ่มตลาดถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามต่อระบบการตลาดปกติ แม้ว่าผู้บริโภคอาจจะได้รับประโยชน์ในช่วงแรกจากการทุ่มตลาด แต่ในที่สุดแล้วหากบริษัทคู่แข่งถูกขับออกจากตลาดไปโดยการปฏิบัติเช่นนี้แล้ว ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อผลิตภัณฑ์ในราคาที่สูงขึ้นอยู่ดี นโยบายของรัฐมักจะให้การสนับสนุนการทุ่มตลาดด้วยการใช้สินค้าส่งออกเข้าไปโจมตีในช่วงที่เกิดความอ่อนแอของเศรษฐกิจภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของโลกครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษปี 1930 สหภาพโซเวียตได้ฉกฉวยโอกาสเป็นครั้งคราวมาทำให้การตลาดหยุดชะงักด้วยการใช้สินค้าโภคภัณฑ์ขั้นปฐมจำนวนมากๆที่ได้รับการชำระหนี้มาจากการช่วยเหลือต่างประเทศของตนมาใช้ทุ่มตลาด เช่น โภคภัณฑ์ประเภทดีบุก ฝ้าย เป็นต้น โดยจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ในทศวรรษปี 1980 มีการกล่าวหาจากต่างประเทศว่า สหรัฐฯได้ทำการทุ่มตลาดโดยการให้เงินอุดหนุนการขายข้าวสาลีจำนวนมากแก่สหภาพโซเวียตในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดภายใน ในทำนองเดียวกันเมื่อปี ค.ศ. 1987 สหรัฐฯได้ขึ้นภาษีศุลกากรของตนกับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกของญี่ปุ่นที่ถูกนำเข้าไปทุ่มตลาดในสหรัฐฯและในตลาดแห่งอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม