วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Trade Policy Analysis : Balance of Payments

Trade Policy Analysis : Balance of Payments

การวิเคราะห์นโยบายทางการค้า : ดุลการชำระเงิน

ดุลสุทธิระหว่างราย
รับทั้งหมดกับรายจ่ายทั้งหมดของชาติ ทั้งของภาครัฐบาลและของภาคเอกชน ในธุรกรรมทางการค้าและการคลังต่างๆที่กระทำกับประเทศต่างๆทั่วโลก ดุลการชำระเงินของชาตินี้เทียบได้กับบัญชีรับจ่ายของภาคธุรกิจเอกชนที่จะมีทั้งครดิต(รายรับ) และเดบิต(รายจ่าย) แต่ด้วยเหตุที่บัญชีรับจ่ายของชาตินี้จะต้องมีสมดุล คือ เมื่อบัญชีมีการเกินดุลหรือเสียดุลก็จะต้องมีการปรับแต่งให้ได้ เช่น เมื่อเสียดุลก็จะต้องนำเงินทุนสำรองมาใช้หรือใช้วิธีกู้เงินในระยะสั้นมาเสริม เป็นต้น รายการที่อยู่ในเรื่องของเครดิตนั้น ได้แก่ สินค้าขาออก เงินที่ได้จากนักท่องเที่ยวนำมาใช้จ่ายในประเทศ กำไรจากการลงทุน และรายได้จากการขนส่งทางเรือและการธนาคาร ส่วนรายการที่เป็นเรื่องของเดบิต ได้แก่ สินค้าขาเข้า รายจ่ายที่นักท่องเที่ยวนำออกไปใช้จ่ายในต่างประเทศ การใช้จ่ายสำหรับการบริการต่างๆ โดยทั่วไปนั้นปัจจัยสำคัญๆที่จะนำมาใช้คำนวณดุลการชำระเงินของชาติ ก็คือ การนำเข้าสินค้าและการส่งออกสินค้านั่นเอง

ความสำคัญ
ดุลการชำระเงินของชาติ จะเป็นดรรชนีตัวบ่งชี้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของชาติในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ ยกตัวอย่างเช่น หากประเทศประสบปัญหาการเสียเปรียบดุลการชำระเงินมากๆ ในการประกอบธุรกรรมกับ ประเทศอื่นๆทั่วโลก ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขการเสียเปรียบดุลการชำระเงินนี้ หากเป็นการเสียเปรียบในช่วงเวลาสั้นๆจะยังไม่รุนแรงมากมายนัก ก็อาจจะดำเนินการแก้ไขด้วยการกู้ยืมในระยะสั้นก็ได้ แต่ถ้าเป็นการเสียเปรียบดุลการชำระเงินในระยะยาวหรือในระดับพื้นฐานนั้น ก็จะสะท้อนถึงความอ่อนแอระดับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รัฐบาลก็จะต้องดำเนินมาตรการแก้ไขการเสียเปรียบนี้ ซึ่งนโยบายการแก้ไขมีดังนี้ คือ (1) การตั้งอัตราภาษีศุลกากรให้สูงขึ้น (2) การควบคุมการส่งออก (3) การกำหนดโควตา (4) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา (5) การลดค่าของเงินตรา (6) การดำเนินโครงการประหยัด (7) การให้เงินอุดหนุนการส่งสินค้าออก หรือ (8) มาตรการอื่นๆที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดสินค้าเข้า เพื่อเพิ่มพูนรายได้จากการส่งสินค้าออก หรือทั้งสองอย่างนี้ โดยทั่วไปนั้นรัฐทั้งหลายจะพยายามคงความได้เปรียบดุลการชำระเงินนี้ เพื่อที่ว่าจะได้มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศและทองคำไว้ใช้เพื่อต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์การชำระเงินในอนาคตได้ อย่างไรก็ดี เมื่อบางรัฐมีดุลการชำระเงินได้เปรียบเหลือเฟือก็จะส่งผลให้รัฐอื่นๆเสียเปรียบดุลการชำระเงินได้เหมือนกัน แต่ด้วยเหตุที่มาตรการการแก้ไขการเสียเปรียบดุลการชำระเงินนี้จะไปทำให้การค้าระหว่างประเทศลดระดับลงมาได้ ก็จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ขึ้นมาเพื่อช่วยจัดหาเงินกู้ไว้ให้ชาติต่างๆนำไปใช้แก้ไขวิกฤติการณ์การเสียเปรียบดุลการชำระเงินนี้ สหรัฐอเมริกาเสียเปรียบดุลการชำระเงินของตนเกือบจะทุกปีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ซึ่งก็ได้ส่งผลให้ประเทศอื่นๆมีเงินสกุลดอลลาร์จำนวนมหาศาลสะสมไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินดอลลาร์เหล่านี้มักจะเรียกกันว่า ยูโรดอลลาร์และปิโตรดอลลาร์ซึ่งดูจากชื่อก็สะท้อนให้เห็นสถานะทางการค้าที่อ่อนแอลงของสหรัฐอเมริกาเมื่อเทียบกับประเทศในยุโรปบางประเทศ และสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯจะต้องนำเข้าน้ำมันในปริมาณมหาศาล ในระหว่างทศวรรษปี 19970 ถึง ทศวรรษปี 1980 การเสียเปรียบดุลการชำระเงินของสหรัฐฯมีความสัมพันธ์กับการได้เปรียบดุลการชำระเงินอย่างมหาศาลของญี่ปุ่นในการค้ากับสหรัฐฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม