วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Monetary Policy : Exchange Control


Monetary Policy : Exchange Control

นโยบายทางการเงิน : การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา

การที่ภาครัฐบาล
ทำการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลชาติตนและเงินตราสกุลต่างประเทศ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้จะนำมาใช้แทนการตัดสินใจตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของรัฐที่จะปล่อยให้มีการซื้อและการขายเงินตราโดยให้เป็นไปตามพลังตลาดเสรีอย่างเต็มที่ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้ตามปกติจะมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงอัตราส่วนการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลชาติตนกับเงินตราสกุลต่างประเทศโดยไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมอีกต่อไป กับมีวัตถุประสงค์ว่าจะอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลชาติตนเป็นสกุลต่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อได้พิจารณาเห็นว่าจะเป็นผลประโยชน์ของชาติตนเท่านั้น การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราจะมีตั้งแต่ระดับทำการควบคุมเต็มที่ซึ่งธุรกรรมเกี่ยวกับเงินตราทั้งหมดไปจนถึงระดับเข้าควบคุมอย่างจำกัดเฉพาะกิจกรรมบางประเภทเพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเงินเป็นการชั่วคราวเท่านั้น

ความ
สำคัญ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการควบคุม คือ (1) เพื่อแก้ไขการเสียเปรียบดุลการชำระเงินที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง หรือ (2) เพื่อสกัดกั้นมิให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่หาได้ยากเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้านำเข้าต่างๆ แต่ให้นำมาใช้กับโครงการลงทุนต่างๆเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในหมู่รัฐอุตสาหกรรมต่างๆก็จะมีการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้เพื่อตรวจสอบการไหลเข้าของเงินตรา อย่างเช่นที่เคยใช้ในหลายรัฐในทวีปยุโรป เพื่อป้องกันมิให้เงินทุนไหลเข้าไปในสหรัฐอเมริกาในระหว่างทศวรรษปี 1930 อันเป็นช่วงที่กำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาเช่นนั้นจะต้องมีการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างประเทศทั้งหมดเพื่อมุ่งเป้าหมายจะให้มีชัยชนะในสงคราม ถึงแม้ว่ารัฐในยุโรปตะวันตกจะได้ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้ต่อมาอีกช่วงเวลาหนึ่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เมื่อรัฐเหล่านี้ได้สร้างระบบสำรองดอลลาร์และสำรองทองคำขึ้นมาแล้ว ก็ได้เลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้ หรือจะควบคุมบ้างก็ไม่เคร่งครัดนัก ข้างฝ่ายประเทศที่มีการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์และประเทศที่รัฐทำการค้าโดยตรงนั้นก็จะเข้าควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา ส่วนชาติที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่แล้วจะใช้การควบคุมนี้เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศไว้ใช้สำหรับโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในทศวรรษปี 1970 ได้เกิดระบบอัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นเมื่อสหรัฐอเมริกายกเลิกความสามารถในการแปลงค่าระหว่างทองคำกับดอลลาร์เสีย หลังจากได้เกิดระบบใหม่นี้แล้วเงินตราของประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายก็จะได้รับอนุญาตให้ลอยตัวโดยที่ให้ค่าแลกเปลี่ยนถูกกำหนดด้วยสภาวะของตลาดเป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม