วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Monetary Policy : Devaluation

Monetary Policy : Devaluation

นโยบายทางการเงิน : การลดค่าเงินตรา

การลดค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงิน
ตราของชาติ การลดค่าเงินตรานี้ตามปกติจะเป็นนโยบายที่รัฐจงใจนำมาใช้เพื่อลดค่าเงินตราของชาติลงมาเมื่อเทียบกับค่าของทองคำหรือค่าของเงินตราของชาติอื่น

ความ
สำคัญ การลดค่าเงินตรามักจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือของนโยบายการค้าของชาติที่ประสบกับปัญหาการเสียเปรียบดุลการชำระเงินอย่างรุนแรง เมื่อมีการลดค่าเงินตราของชาติลงมา รัฐผู้ลดค่าเงินตรานั้นก็จะลดราคาของผลิตภัณฑ์ของตนในตลาดโลก ซึ่งก็จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้รัฐนั้นมีการค้าผลิตภัณฑ์ส่งออกเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันนั้นสินค้านำเข้าก็จะมีราคาแพงสำหรับผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งก็จะส่งผลให้มีการลดการค้าสินค้านำเข้าในรัฐนั้นลง ด้วยวิธีนี้รัฐก็อาจใช้การลดค่าเงินตรานี้เพื่อแก้ไขการขาดดุลการชำระเงินของตนได้ แต่ถ้าหากรัฐอื่นๆดำเนินตามรอยเดียวกันนี้โดยทำการลดค่าเงินตราของตนบ้าง สัมพันธภาพทางเงินตราระหว่างประเทศทั้งปวงก็จะกลับคืนสู่ระดับเดียวกัน คือระดับก่อนที่จะมีการลดค่าเงินตราในครั้งแรกนั้น ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างที่เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจของโลกครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษปี 1930 นั้น ระบบการเงินระหว่างประเทศตกอยู่ในสภาพยุ่งยากมากเพราะผลจากการลดค่าเงินตราซ้ำซากหลายๆรอบ ทั้งนี้เพราะหลายรัฐต้องการจะหาวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในของตนด้วยการช่วงชิงส่วนแบ่งของตลาดโลกให้ได้มามากๆ ได้มีการก่อตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) หลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อนำมาสร้างเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ โดยวิธีคอยกำกับดูแลค่าของเงินตราและให้สมาชิกได้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศในช่วงที่ประสบปัญหาทางด้านการเงิน นอกจากนี้แล้วประเทศอุตสาหกรรมสมัยใหม่ก็ยังได้ร่วมกันทำข้อตกลงที่กำหนดให้ จัดหาทรัพยากรด้านเงินเพิ่มเติมสำหรับใช้ต่อสู้ต้านทานการลดค่าเงินในระหว่างเกิดวิกฤติทางการเงิน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาได้มีการลดค่าเงินตราของชาติ ต่างๆหลายครั้ง แต่การลดค่าเงินตราครั้งสำคัญๆนั้นจะมีขอบเขตจำกัดอยู่เฉพาะกรณีที่จำเป็น ต้องมีการปรับแต่งเงินตราด้วยความเห็นชอบของกองทุนการเงินระหว่างประเทศแล้วเท่านั้น ไม่มีการแข่งขันลดค่าเงินอีกต่อไปแล้ว เมื่อได้มีการจัดตั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1973 ขึ้นมาซึ่งทำให้เงินตรามีการลอยตัวได้อย่างเสรีนั้น ก็ได้ช่วยให้ค่าเงินตรามีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดี ในทศวรรษปี 1980 สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายลดค่าเงินสกุลดอลลาร์ของตนลงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขความเสียเปรียบดุลการค้าและดุลการชำระเงินของตน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม