วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Monetary Policy : Gold Standard


Monetary Policy : Gold Standard

นโยบายทางการเงิน : มาตราทองคำ

ระบบการเงินระหว่างประเทศที่ใช้ทองคำ
เป็นมาตรฐานค่าของเงินร่วมกัน ภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำนี้ เงินตราของแต่ละชาติจะมีทองคำหนุนหลัง เงินตราแต่ละสกุลมีค่าที่วัดกันด้วยทองคำ และเงินตราแต่ละสกุลสามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำหรือเงินสกุลใดๆของชาติที่อยู่ในระบบนี้ได้ การเสียเปรียบหรือการได้เปรียบในดุลการชำระเงินจะตกลงกันด้วยทองคำที่ออกจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ภายใต้มาตราปริวรรตทองคำที่ได้รับการแก้ไขนั้น ธนาคารกลางจะเป็นผู้ซื้อและขายเงินตราของชาติที่มีทองคำซึ่งมีค่าคงที่หนุนหลังอยู่

ความสำคัญ
มาตราทองคำนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาให้เป็นระบบการเงินระหว่างประเทศขั้นพื้นฐานมาตั้งแต่กลางคริสตศตวรรษที่ 19 จวบจนถึงปี ค.ศ. 1914 และระบบนี้ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกในช่วงเวลาสั้นๆระหว่าง ค.ศ. 1925-1931 และช่วงระหว่าง ค.ศ. 1958-1971 โดยออกมาในรูปของมาตรฐานปริวรรตทองคำ เมื่อปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีนิกสัน ได้ถูกบีบบังคับให้ต้องตัดความสัมพันธ์ที่ผูกกันไว้ระหว่างทองคำกับเงินตราสกุลดอลลาร์ที่มีการแลกเปลี่ยนด้วยอัตราคงที่ ทั้งนี้เพราะเงินสกุลดอลลาร์มีอยู่ล้นโลก จึงได้มีการเรียกร้องให้สหรัฐฯ เพิ่มทุนสำรองทองคำเป็นอีกหนึ่งเท่าตัว ถึงแม้ว่ามาตราทองคำนี้จะมีข้อดีอยู่ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการแปลงค่าเงินตราทุกสกุลในระบบการจ่ายเงินระดับพหุภาคีอย่างแท้จริงโดยเสรี แต่จากการที่มีอุปทานของทองคำอย่างจำกัดก็จึงเป็นการยากที่จะสร้างทุนสำรอง ทองคำนี้อย่างพอเพียงในช่วงที่มีการค้าขายเพิ่มมากขึ้นได้ การไหลเข้าประเทศหรือการไหลออกนอกประเทศของทองคำจะทำให้เกิดภาวะเงินฝืดและภาวะเงินเฟ้อที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นมาได้(ถ้าทองคำไหลออกนอกประเทศมากก็จะเกิด ภาวะเงินฝืด แต่ถ้าทองคำไหลเข้ามาในประเทศมากไปก็จะทำให้เกิด ภาวะเงินเฟ้อ ได้) ทั้งนี้เพราะค่าของเงินตราภายในของแต่ละชาตินั้นอิงปริมาณทองคำที่ชาตินั้นๆ ครอบครองอยู่ เมื่อรัฐบาลกำหนดเป็นเป้าหมายของชาติไว้ว่าจะต้องรักษาเสถียรภาพของเงินตราของตนไว้ให้ได้ แต่สภาพการจ้างงานอย่างเต็มที่ก็ดี การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วก็ดี กลไกการปรับตัวเองโดยอัตโนมัติของมาตรฐานทองคำก็ดี มิได้เป็นไปโดยสอดประสานกัน ดังนั้นก็จึงได้มีการนำระบบเงินตราแบบธนบัตรมาใช้แทน ระบบมาตราปริวรรตทองคำที่ดำเนินมาจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1971 ได้อ่อนแอลงเนื่องจาก (1) สภาวะขาดแคลนทองคำทั่วโลก (2) สภาวะขาดดุลการชำระเงินของสหรัฐอเมริกา และ(3) สภาวะที่หลายชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศสรีบแลกเปลี่ยนดอลลาร์ที่ตนมีอยู่เป็นทองคำอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีในปี ค.ศ. 1967 กลุ่มจี –7 หรือกลุ่มมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ ได้ตกลงกันที่จะเสริมสร้างระบบการเงินของโลกโดยการสร้าง ทองคำกระดาษในรูปแบบของการจัดตั้ง สิทธิถอนพิเศษ(สเปเชียล ดรอวิ่ง ไร้ท์=เอสดีอาร์) ขึ้นมาเพื่อสมาชิกทุกชาติของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เมื่อมีเครดิตเพิ่มขึ้นมาด้วยวิธีดังกล่าวนี้แล้ว ชาติที่ทำการค้ารายใหญ่ๆทั่วโลกก็ได้พยายามบริหารจัดการอุปทานการเงินระหว่างประเทศในลักษณะเดียวกับที่รัฐบาลของชาติต่างๆใช้ธนาคารกลางของตนคอยกำกับดูแลเงินตราภายในของตนนั่นแหละ ราคาของทองคำซึ่งเคยมีราคาคงที่ที่ 35 ดอลลาร์ต่อทองคำหนึ่งออนซ์เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ก็ได้ถีบตัวสูงขึ้นในตลาดโลกอันเป็นผลมาจากภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงที่มีผลกระทบต่อเงินสกุลต่างๆส่วนใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม