วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Trade Policy Instrument : Most-Favored Nation -Clause


Trade Policy Instrument : Most-Favored Nation -Clause

เครื่องมือของนโยบายทางการค้า : ข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง

ข้อ
กำหนดที่สอดแทรกอยู่ในข้อตกลงทางการค้า ซึ่งระบุให้ขยายการผ่อนปรนทางภาษีศุลกากรที่ผู้ลงนามได้ตกลงกันไว้แล้วนั้น ไปถึงทุกชาติที่เข้ามาร่วมในระบบถ้อยทีถ้อยปฏิบัติซึ่งกันและกันนี้ด้วย ข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งนี้ มีขึ้นมาเพื่อป้องกันมิให้เกิดอคติทางการค้าต่อกลุ่มรัฐที่สามโดยให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด ในทำนองเดียวกันข้อตกลงให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรมากยิ่งขึ้นที่รัฐผู้ลงนามรัฐใดรัฐหนึ่งได้ขยายไปให้แก่รัฐอื่นทั้งหลายไปแล้วนั้น ก็จะนำมาใช้กับคู่สัญญาแรกเริ่มโดยอัตโนมัติด้วยเหมือนกัน

ความสำคัญ
การที่มีการนำเอาข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งนี้มาแทรกไว้ในข้อตกลงทางการค้านั้น มีความหมายว่าภาคีจะไม่พยายามทำข้อตกลงให้สิทธิพิเศษทางการค้าแบบทวิภาคีที่ จะเป็นการแสดงออกถึงการมีอคติต่อภาคีการค้าอื่นๆขึ้นมา ข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบข้อตกลงแบบทวิภาคีที่เป็นระบบมีอคติให้ไปสู่โครงการการมองออกไปข้างนอกเพื่อให้มีการลดอุปสรรคทางการค้าทั่วไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ได้มีการนำเอาระบบนี้มาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 เพื่อฟื้นฟูระบบการค้าเสรีที่ปลอดพ้นจากอุปสรรคทางการค้าที่มีอคติซึ่งถูก จัดตั้งขึ้นมาในช่วงปีแรกๆของการเกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจของโลกครั้งใหญ่ เมื่อทศวรรษปี 1930 นั้น ทั้งโครงการข้อตกลงการค้าแบบถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน และข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการศุลกากรและการค้า(แกตต์) ต่างก็กำหนดให้มีการใส่ข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งไว้ในข้อตกลงทางการค้าทุกฉบับ ในสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีอาจเพิกถอนการใช้ข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งจากการค้ากับชาติทั้งหลายที่มีอคติต่อสินค้าออกของสหรัฐฯได้ อำนาจตามดุลพินิจนี้ได้ถูกนำไปใช้เพื่อให้ยกเลิกการใช้ข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งนี้จากสหภาพโซเวียตและรัฐคอมมิวนิสต์อื่นๆส่วนใหญ่ แต่ข้อกำหนดว่าด้วยชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งนี้สหรัฐฯยังให้แก่จีนและรัฐคอมมิวนิสต์หลายรัฐในยุโรปตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม