วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Development Strategy : Technical Assistance


ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา : ความช่วยเหลือทางเทคนิค

การสอนทักษะทางเทคนิคใหม่ๆให้โครงการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศทางเทคนิคนี้รัฐที่เจริญแล้วจะเสนอให้รัฐด้อยพัฒนาเพื่อช่วยให้ก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายแห่งการสร้างความทันสมัย การถ่ายทอดทักษะที่มีตั้งแต่ระดับที่ง่ายๆไปถึงระดับที่ซับซ้อนมากๆและที่มีตั้งแต่ทักษะการเกษตรแบบพื้นๆไปจนถึงปฏิบัติการและบำรุงรักษาโรงงาน อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ล้วนแต่อยู่ในขอบข่ายของความช่วยเหลือทางเทคนิคนี้ทั้งสิ้น โครงการความช่วยเหลือทางเทคนิคจะให้การพัฒนาทักษะทางด้านการอุตสาหกรรม การจัดการ การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร การเหมืองแร่ และการบริหาร

ความสำคัญ การถ่ายทอดทักษะทางเทคนิคต่างๆสู่ผู้คนในดินแดนด้อยพัฒนาของโลก ได้เริ่มกระทำในระดับย่อยๆในช่วงยุคล่าอาณานิคม โดยพวกสอนศาสนา บริษัทดำเนินการทางธุรกิจของเจ้าอาณานิคม และองค์การการกุศลต่างๆ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา โครงการใหญ่ๆดำเนินการผ่านทางความช่วยเหลือในแบบทวิภาคีโดยองค์การในระดับภูมิภาคก็มี โดยสหประชาชาติก็มี ในส่วนของสหประชาชาตินั้น ความช่วยเหลือทางเทคนิคจะเสนอให้ผ่านทางโครงการขยายความช่วยเหลือทางเทคนิค(เอฟตา) และกองทุนพิเศษของโครงการนี้ ต่อมาโครงการทั้งสองนี้ได้รวมกันเข้าเป็นโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(ยู เอ็นดีพี) เมื่อปี ค.ศ. 1965 ทั้งนี้เพื่อความเป็นเอกภาพในการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ส่วนโครงการในระดับภูมิภาคที่ให้การฝึกอบรมในทักษะสมัยใหม่ ได้แก่ พันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า แผนโคลัมโบ กองทุนการพัฒนายุโรปของประชาคมเศรฐกิจยุโรป และองค์การความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ(โออีซีดี) หมู่รัฐกลุ่มตะวันตกจะนิยมให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในโครงการความช่วยเหลือต่างประเทศของตนยิ่งกว่าที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน ทั้งนี้เพราะได้คาดหวังว่า ประเทศด้อยพัฒนาได้ทักษะและนำทักษะนี้ไปใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ก็จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนของรัฐที่มีทุนเหลือเฟือทั้งหลายนำไปใช้ผลักดันกระบวนการพัฒนาต่อไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม