วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Economic Theory : Cross National Products(GNP)


Economic Theory : Cross National Products(GNP)

ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ : ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น(จีเอ็นพี)

รายได้
ประชาชาติเบื้องต้นของชาติที่วัดโดยใช้มูลค่าของสินค้าและบริการที่ได้จากเศรษฐกิจของชาติ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติหรือจีเอ็นพีนี้จะคิดจากมูลค่าทางตลาดทั้งปวงของสินค้าและบริการประเภทผู้บริโภคและประเภททุนทั้งปวงในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติจะเป็นช่วงหนึ่งปี

ความสำคัญ
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น(จีเอสพี) หากคำนวณด้วยความพิถีพิถันมิให้เกิดการซ้ำซ้อนเผลอไปรวมเอามูลค่าในขั้นตอนต่างๆในการผลิตเข้าไปด้วยแล้ว ก็จะใช้เป็นดรรชนีตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจได้ จีเอ็นพีนี้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบผลทางเศรษฐกิจของชาติกับปีก่อนๆได้ หรือจะใช้เปรียบเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศอื่นก็ได้ จีเอสพีมักจะนำมาใช้เปรียบเทียบความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างระบบเศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ระบบเศรษฐกิจและสังคมในรัฐทุนนิยมกับในรัฐคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ในการเปรียบเทียบอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ควรจะมีการปรับแต่งจีเอสพีกับค่าของเงินตราที่คงที่เพื่อป้องกันการเบี่ยง เบนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดจากสภาวะเงินเฟ้อหรือสภาวะเงินฝืด กับจะต้องทำการปรับแต่งตัวเลขของสินค้าประเภททุนเพื่อมิให้มีการรวมเอาตัวเลขส่วนที่เป็นการลงทุนเข้าไปด้วย เพราะตัวเลขการลงทุนใหม่นี้เป็นเพียงเข้าไปแทนที่ขีดความสามารถการผลิตที่เสื่อมไปแล้วหรือหมดไปแล้วเท่านั้นเอง ในการเปรียบเทียบมาตรฐานการครองชีพในประเทศต่างๆก็จะต้องนำปัจจัยการเจริญ เติบโตทางด้านประชากรมาใช้ปรับแต่งตัวเลขจีเอ็นพีให้เข้ากับตัวเลขมาตรฐานรายได้รายหัวด้วย ในสหรัฐอเมริกา จีเอ็นพีของสหรัฐฯจะอยู่ในระดับประมาณสองเท่าของสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นชาติคู่แข่งที่สำคัญของตน

Economic Theory : Keynesianism


Economic Theory : Keynesianism

ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ : ลัทธิเคนส์

ปรัชญาและแนวปฏิบัติในการใช้กลไกของ
รัฐบาล กล่าวคือ นโยบายการคลังและการเงิน เพื่อเป็นแนวทางและชี้นำเศรษฐกิจที่มีการประกอบการโดยเสรี ลัทธิเคนส์มีรากฐานมาจากหลักการและการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นลัทธิที่ต้องการจะปรับปรุงลัทธิทุนนิยม โดยกำหนดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแบบที่มีระบบและสามารถพยากรณ์ได้ด้วยการอิงอาศัยตัวชี้นำทางเศรษฐกิจที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจนำมาใช้ เทคนิคที่พวกยึดแนวลัทธิเคนส์นำมาใช้เพื่อดำเนินการเศรษฐกิจของรัฐ ก็คือ ให้ภาครัฐบาลทำการควบคุมและชี้นำเรื่องต่างๆ เช่น การคลัง การใช้จ่าย นโยบายภาษี อัตราดอกเบี้ย และการเครดิต ลัทธิเคนส์ต้องการจะให้ผู้นำรัฐมีระบบการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยเหตุและผล แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามพลังของตลาดโดยอิสระที่ไม่มีการชี้นำใดๆอันเป็น ลักษณะของแนวทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม เคนส์เชื่อว่า ปัญหาหลักของทุนนิยม ก็คือ มีการออมเกินไป และเขาได้กล่าวถึงสิ่งที่ภาครัฐบาลควรกระทำไว้หลายอย่างเพื่อส่งเสริมให้มีการนำเงินออมไปใช้ในการลงทุนและในการบริโภคจับจ่ายใช้สอย เคนส์มุ่งให้ความสนใจในบทบาทของนโยบายการคลังของภาครัฐบาลที่จะแก้ไขการเสียสมดุลระหว่างโพเท็นเชียลเอ้าท์พุต(ที่ควบคุมโดยปัจจัยทางอุปทาน) กับ แอ็คชวลเอ้าท์พุต (ที่ควบคุมโดยอุปสงค์รวมของผู้บริโภค ผู้ลงทุน และรัฐบาล)

ความสำคัญ
แนวทาง เศรษฐศาสตร์ใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของหลักการเคนส์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกและในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปให้เป็นนโยบายของรัฐในหมู่รัฐที่พัฒนาทางด้าน อุตสาหกรรมของโลก บรรดาผู้นำทางการเมืองทั้งหลายต่างก็ได้ทำการตกลงใจทางด้านเศรษฐกิจของรัฐตน โดยอิงอาศัยข้อเสนอแนะของบรรดาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจซึ่งได้ยอมรับแนวทางลัทธิเคนส์นี้มากยิ่งขึ้น ในการบริหารเศรษฐกิจของชาตินั้น พวกที่เชื่อถือในลัทธิเคนส์ได้หาทางป้องกันมิให้เกิดการเคลื่อนไหวตามวงจรทางเศรษฐกิจ สภาวะการตกงาน และสภาวะเงินเฟ้อ แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้ส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตและความมั่งคั่งทาง เศรษฐกิจโดยทั่วไป ลัทธิเคนส์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาในการแก้ไขปัญหาการตกต่ำทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย อย่างไรก็ดีลัทธิเคนส์นี้ได้อ่อนกำลังลงเนื่องจากสภาวะหนี้สินของภาครัฐบาล และสภาวะหนี้สินของผู้บริโภค ตลอดจนเกิดสภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จึงได้ถูกท้าทายโดยแนวทางใหม่ 2 แนวทาง คือ (1) ลัทธิการเงิน ที่เน้นให้มีตลาดเสรีโดยให้ภาครัฐบาลมีนโยบายมุ่งควบคุมอุปสงค์ของการเงิน และ (2) เศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน ซึ่งเน้นนโยบายด้านภาษีและนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม อันเป็นมรรควิธีที่จะช่วยให้บรรลุถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปได้

Economic Theory : Mercantilism

Economic Theory : Mercantilism

ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ : ลัทธิพาณิชยนิยม

ปรัชญาและแนวปฏิบัติทางเศรษฐกิจ
ที่ให้ภาครัฐบาลทำการควบคุมวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของชาติเพื่อเพิ่มพูนอำนาจ และความมั่นคงของรัฐ ลัทธิพาณิชยนิยมได้มอบแบบจำลองทางเศรษฐกิจให้รัฐต่างๆในทวีปยุโรปได้นำไปปฏิบัตินับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 16 มาจนถึงคริสตสตวรรษที่ 18 ซึ่งแต่ละรัฐก็ได้พยายามเพิ่มพูนทรัพย์สินของตนโดยให้มีการส่งออกสินค้า มากกว่าสั่งเข้าสินค้าเพื่อจะได้มีดุลการค้าที่ได้เปรียบ ซึ่งก็ส่งผลให้มีการไหลเข้ามาซึ่งทองและเงิน อุตสาหกรรมภายในประเทศได้รับการส่งเสริมโดยรัฐดำเนินนโยบายทางการเกษตรและการเหมืองแร่ ทั้งนี้เพราะการผลิตสินค้าสำเร็จรูปจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งทางเรือและลดราคา สินค้าลงได้มาก อาณานิคมได้ถูกใช้ให้เป็นแหล่งหาวัตถุดิบราคาถูกๆและเป็นตลาดจำหน่ายเครื่อง อุปโภคที่มีราคาแพงๆ รัฐบาลได้วางกฎเกณฑ์และทำการควบคุมทุกภาคของเศรษฐกิจแห่งชาติ ค่าจ้างกำหนดให้ต่ำเข้าไว้เพื่อจะให้รัฐมีกำไรเก็บเข้าคลังหลวงมากๆ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความขยันขันแข็งในหมู่มวลชนผู้ใช้แรงงาน ซึ่งตอนนั้นเชื่อกันว่า พวกนี้หากได้ค่าจ้างมากๆก็จะเกียจคร้านทำงาน

ความ
สำคัญ ระบบพาณิชยนิยมได้เข้าครอบงำเศรษฐกิจระหว่างประเทศอยู่จวบจนกระทั่งทฤษฎีเสรีนิยมแบบปัจเจกชนได้เข้ามาแทนที่ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ถึงแม้ว่าทฤษฎีพาณิชยนิยมจะเสื่อมความนิยมในเวลาต่อมา แต่ก็เป็นแนวปฏิบัติที่มีการนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนอำนาจรัฐในช่วงที่เกิดสงครามและช่วงที่ความอยู่รอดของชาติจะต้องอาศัยความสามารถของรัฐทางด้านการเงินที่จะจ้างคนและธำรงกองทัพอันประกอบด้วยทหารอาชีพเข้าไว้ให้ได้ แนวปฏิบัติ ลัทธิพาณิชยนิยมแบบใหม่อย่างเช่น เน้นให้มีดุลการค้าที่ได้เปรียบ ตลอดจนให้ภาครัฐบาลทำการวางข้อกำหนดและสนับสนุนเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางนี้ ก็ยังมีรัฐต่างๆนำมาปฏิบัติจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ และก็ยังมีบางชาติพยายามจะสร้างระบบสำรองทองคำของตนโดยมีความเชื่อเหมือนอย่างที่พวกพาณิชยนิยมว่า ทองคำซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีคุณค่ามากนี้จะช่วยเพิ่มพูนอำนาจรัฐได้ ส่วนรัฐที่ปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์นั้นมีอุดมคติที่ใกล้เคียงกับลัทธิพาณิชยนิยม เพราะถือว่านโยบายทางเศรษฐกิจจะต้องอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ทางการเมืองของรัฐ

Monetary Policy : Bretton Woods Conferenc

Monetary Policy : Bretton Woods Conference

นโยบายทางการเงิน : การประชุมที่เบรตตันวูดส์

การประชุมทางการเงิน
และการคลังของสหประชาชาติ ที่ได้ยกร่างมาตราต่างๆของข้อตกลงสำหรับธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา(ไอดีอาร์ดี) และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) การประชุมครั้งนี้ผู้ริเริ่มให้มีการประชุม คือ ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี.รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นที่เบรตตันวูดส์ มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา ระหว่าง 1-22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 มีชาติต่างๆจำนวน 44 ชาติได้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมด้วย


ความสำคัญ
การประชุมที่เบรตตันวูดส์นี้ถือได้ว่าเป็นความริเริ่มในอันที่จะช่วยแก้ปัญหาการบูรณะทางด้านเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของฐานความร่วมมือเพื่อสร้างระบบการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ ที่สามารถทำงานได้ผลเพื่อนำมาใช้แทนสภาวะสับสนวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจในทศวรรษปี 1930 ทั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1945 เมื่อจำนวนของชาติที่ต้องการได้ให้การยอมรับมาตราต่างๆของข้อตกลงสำหรับการจัดตั้งธนาคารฯและกองทุนฯแต่ละแห่งแล้ว ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ทั้งธนาคารฯและกองทุนฯได้ใช้หลักการและนโยบายทางเศรษฐกิจของลัทธิเคนส์กับระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

Monetary Policy : Convertibility


Monetary Policy : Convertibility

นโยบายทางการเงิน : ความสามารถในการแปลงค่า

การแลกเปลี่ยนเงินตราของ
ชาติท้องถิ่นไปเป็นเงินตราต่างประเทศโดยภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจได้โดยอิสระโดยที่ไม่มีการควบคุมจากภาครัฐบาล ดังนั้นเงินตราที่สามารถแปลงค่าได้นี้จะไม่มีการควบคุมในเรื่องค่าของเงิน หรือจำนวนเงินที่จะแลกเปลี่ยนโดยใช้ระบบควบคุมการแลกเปลี่ยนภายในชาติแต่อย่างใด


ความสำคัญ
ความสามารถในการแปลงค่าเงินตรานี้ส่วนใหญ่แล้วจะถูกจำกัดด้วยเหตุต่อไปนี้ (1) เมื่อรัฐบาลต้องการปกป้องชาติจากการเสียสมดุลในดุลการชำระเงิน (2) เมื่อรัฐบาลต้องการคงค่าแลกเปลี่ยนที่สูงหรือต่ำของเงินตราของตนไว้ หรือ (3) เมื่อรัฐบาลพยายามจะใช้การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้เพื่อวัตถุประสงค์ ทางการเมืองหรือทางการทหารแห่งชาติตน ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศที่กำลังพัฒนา เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐและเงินสกุลแข็งอื่นๆ มักถูกเก็บเอาไว้เพื่อใช้ซื้อสินค้าประเภททุนเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นก็จะเอาเงินตราสกุลชาติตนไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลแข็งๆเพื่อนำไปซื้อสินค้าประเภทผู้บริโภคโดยเสรีไม่ได้ เงินตราของโลกสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ (1) เงินตราสกุลแข็งของประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย (2) เงินตราสกุลอ่อนของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย และ(3) เงินตราที่ถูกควบคุมของประเทศคอมมิวนิสต์และของประเทศที่รัฐดำเนินการค้าโดยตรง เงินตราตามข้อ 1 สามารถแลกเปลี่ยนได้โดยเสรี ส่วนเงินตราในข้อ 2 และข้อ 3 จะแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศโดยถูกต้องตามกฎหมายได้จะต้องได้รับการ อนุมัติจากภาครัฐบาลเสียก่อน ข้อนี้เองจึงเป็นผลให้มีตลาดมืดค้าเงินตราต่างประเทศโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นทางการ

Monetary Policy : Counterpart Funds

Monetary Policy : Counterpart Funds

นโยบายทางการเงิน : กองทุนสมทบ

เงินตราสกุลท้องถิ่นที่ประเทศผู้รับ
ความช่วยเหลือจ่ายให้แก่ประเทศผู้บริจาคสำหรับเงินกู้ที่ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการทหาร ทางด้านการพัฒนา หรือทางด้านเทคนิค ภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือนั้น ประเทศผู้รับความช่วยเหลืออาจต้องรับเงื่อนไขให้จัดตั้งกองทุนพิเศษสำหรับเงินตราสกุลท้องถิ่นของตนเท่ากับจำนวนที่ได้รับในการแลกเปลี่ยนต่างประเทศนั้นได้

ความสำคัญ
ด้วยเหตุที่เงินกองทุนสมทบนี้ไม่สามารถเปลี่ยนค่าเป็นเงินสกุลแข็งได้ ดังนั้นรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือมักจะนำมาใช้ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นที่ได้รับความช่วยเหลือนั้นเอง หรือให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการแลกเปลี่ยนทางด้านการศึกษาและโครงการที่จะทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อต่างๆ ประเทศผู้บริจาคที่ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศมากๆ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น จะมีเงินสกุลท้องถิ่นในกองทุนนี้เป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งก็จะทำให้ชาติผู้บริจาคนี้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายแห่งชาติของประเทศที่รับความช่วยเหลือได้ ในบางกรณีนั้นสถานการณ์เช่นนี้จะถูกกลุ่มต่างๆภายในประเทศที่รับความช่วยเหลือใช้เป็นข้ออ้างกล่าวหาประเทศผู้บริจาคว่ากำลังดำเนินนโยบายล่าเมืองขึ้น

บทความที่ได้รับความนิยม